วันพุธที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วิทยาศาสตร์ประยุกต์

พันธุกรรมใดที่ถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานได้

ตอบ...ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมไปสู่ลูกหลานได้นั้นต้องอาศัย "ยีน"






โรคที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้คือ

1. โรคเซลล์เม็ดเลือดแดงรูปเคียว (sickle cell anaemia) เป็นโรคที่แสดงความผิดปกติที่เซลล์เม็ดเลือดแดงที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม
2. โรคโลหิตไหลไม่หยุด (haemophilia) หรือโรคฮีโมฟิเลีย ผู้ที่เป็นโรคนี้ เมื่อมีบาดแผลจะเสียเลือดมากและมีโอกาสเสียชีวิตได้

3. โรคซิสติกไฟโบรซิส (cystic fibrosis ) เป็นโรคทางกรรมพันธุ์ที่ส่งผลต่อทางเดินหายใจ

4. โรคฮันติงตัน (Hunting's Chorea) โรคนี้พบไม่มากนักประมาณ 1 ใน 20,000 คน และจะแสดงอาการเมื่อคนไข้มีอายุประมาณ 30-40 ปี โดยเซลล์สมิงของคนไข้เกิดการเปลี่ยนแปลง

วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

[บทเรียนออนไลน์]

วิชา..เศรษฐกิจพอเพียง
http://203.172.211.42/eco/learn2.html
วิชา..คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
www.kr.ac.th/ebook/trirat/01.html

ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง

“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำ แนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลง

มีหลักพิจารณา ดังนี้

กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็นโดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤติ เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา

คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน

คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะพร้อม ๆ กัน ดังนี้

1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกิดไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ

2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ

3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรุ้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ

1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ

2. เงื่อนไขความธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความชื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความพากเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมสิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี

ขั้นตอนการทำโครงงาน

การทำโครงงานมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

การคิดหัวเรื่องหรือปัญหาที่จะศึกษา
การวางแผนในการทำโครงงาน
การลงมือทำโครงงาน
การเขียนรายงาน
การแสดงผลงาน

1.การคิดจะเลือกหัวเรื่องหรือปัญหาที่จะศึกษา

ขั้นตอนการเลือกหัวเรื่องเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญหัวเรืองของโครงงานจะต้องชัดเจนน่าสนใจและเป็นความยากรู้
ข้อควรคำนึงในการเลือกหัวเรื่องในการทำโครงงาน
เหมาะสมกับระดับความรู้
เหมาะสมกับความสามารถ
วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้
งบประมาณ
ระยะเวลาที่ใช้ทำโครงงาน
มีอาจารย์หรือผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษา
ความปลอดภัย
มีแหล่งความรู้หรือเอกสารเพียงพอที่จะค้นคว้า

วิธี ทำรายงาน ให้สมบูรณ์

1.หัวข้อเรื่อง โดยทั่วไปอาจารย์จะกำหนดให้ แต่หากน้อง ๆ เลือกเอง ควรเลือกเรื่องที่สนใจ มีขอบเขตเนื้อหาไม่กว้างหรือแคบเกินไป และคาดว่าจะมีแหล่งข้อมูลให้ค้นคว้าอย่างเพียงพอ จะช่วยให้การทำรายงานสนุกและได้ความรู้เพิ่มขึ้น

2.ค้นคว้าข้อมูลจากหลาย ๆ แหล่ง เช่น หนังสือ อินเตอร์เน็ต ซีดีที่เกี่ยวข้อง จะได้ความละเอียด แม่นยำ หลากหลาย และทันสมัย สำหรับการค้นจากหนังสือซึ่งเป็นวิธีพื้นฐานนั้น จะดูจากหนังสืออ้างอิง โดยศึกษาศัพท์เฉพาะไว้เป็นพื้นฐานของเรื่องที่จะทำ รวมทั้งดรรชนีวารสาร ซึ่งจะใช้ค้นบทความจากวารสาร

3.เรียบเรียงข้อมูล โดยวางโครงเรื่องให้เป็นหมวดหมู่ตามลำดับ แบ่งเนื้อหาเป็นบท จากหัวข้อใหญ่ที่มีความสำคัญมาก ตามด้วยหัวข้อย่อยที่มีความสำคัญรองลงมา จากนั้นเขียนอย่างเป็นระบบ เพื่อความสะดวกในการทำความเข้าใจ

4.ทำบรรณานุกรม อ้างอิงแหล่งข้อมูลที่ใช้ค้นคว้า เพื่อความสมบูรณ์และน่าเชื่อถือของเนื้อหารายงาน เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยก็มาปิดท้ายด้วย 'ชื่อเรื่อง' ควรตั้งให้กะทัดรัด ครอบคลุมเนื้อหา และวัตถุประสงค์ของรายงานที่ทำ

นอกจากทำรายงานแล้ว การนำเสนอหน้าชั้นก็มีความสำคัญ อย่าลืม! ศึกษาเนื้อหาให้เข้าใจ อาจจดหัวข้อสำคัญไว้ดูเผื่อลืม รวมทั้งฝึกซ้อมพูดก่อนนำเสนอจริง เพื่อความพร้อมและความสมบูรณ์ของงาน.

กฏ กติกา แบดมินตัน

1. สนามและอุปกรณ์สนาม


1.1
สนามจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าประกอบด้วยเส้นกว้างขนาด 40 มม. ตามภาพผัง ก.

1.2 เส้นทุกเส้นต้องเด่นชัด และควรทาด้วยสีขาวหรือสีเหลือง

1.3 เส้นทุกเส้นเป็นส่วนประกอบของพื้นที่ซึ่งกำหนดไว้

1.4




เสาตาข่ายจะต้องสูง 1.55 เมตรจากพื้นสนาม และตั้งตรงเมื่อขึงตาข่ายให้ตึงตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ 1.10 โดยที่จะต้องไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดของเสายื่นเข้ามาในสนาม (เฉพาะรายการที่รับรองโดย IBF จะต้องใช้ระเบียบนี้ จนกระทั่ง 1 สิงหาคม 2547 ทุกรายการที่แข่งขันจะต้องยึดตามระเบียบนี้)

1.5
เสาตาข่ายจะต้องตั้งอยู่บนเส้นเขตข้างของประเภทคู่ตามที่ได้แสดงไว้ในภาพผัง ก. โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะเป็นประเภทเดี่ยวหรือเล่นคู่

1.6 ตาข่ายจะต้องถักด้วยเส้นด้ายสีเข้ม และมีขนาดตากว้างไม่น้อยกว่า 15 มม. และไม่เกิน 20 มม.

1.7 ตาข่ายต้องมีความกว้าง 760 มม. และความยาวอย่างน้อย 6.1 เมตร

1.8
ขอบบนของตาข่ายต้องมีแถบผ้าสีขาวพับสอง ขนาดกว้าง 75 มม. ทับบนเชือกหรือลวดที่ร้อยตลอดแถบผ้าขาว

1.9 เชือกหรือลวดต้องมีขนาดพอที่จะขึงให้ตึงเต็มที่กับหัวเสา












1.10 สุดขอบบนตาข่ายต้องสูงจากพื้นที่ตรงกึ่งกลางสนาม 1.524 เมตร และ 1.55 เมตร เหนือเส้นเขตข้างของประเภทคู่

1.11
ต้องไม่มีช่องว่างระหว่างสุดปลายตาข่ายกับเสา ถ้าจำเป็น ต้องผูกร้อยปลายตาข่ายทั้งหมดกับเสา





2. ลูกขนไก่

2.1 ลูกขนไก่อาจทำจากวัสดุธรรมชาติ และ/หรือ วัสดุสังเคราะห์ ไม่ว่าลูกนั้นจะทำจากวัสดุชนิดใดก็ตาม ลักษณะวิถีวิ่งทั่วไป จะต้องเหมือนกับลูกซึ่งทำจากขนธรรมชาติ ฐานเป็นหัวไม้ก๊อก หุ้มด้วยหนังบาง

2.2 ลูกขนไก่ต้องมีขน 16 อัน ปักอยู่บนฐาน

2.3 วัดจากปลายขนถึงปลายสุดของฐาน โดยความยาวของขนในแต่ละลูกจะเท่ากันหมด ระหว่าง 62 มม. ถึง 70 มม.

2.4 ปลายขนแผ่เป็นรูปวงกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 58 มม. ถึง 68 มม.

2.5 ขนต้องมัดให้แน่นด้วยเส้นด้ายหรือวัสดุอื่นที่เหมาะสม

2.6 ฐานของลูกต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 25 มม. ถึง 28 มม. และส่วนล่างมนกลม

2.7 ลูกขนไก่จะมีน้ำหนักตั้งแต่ 4.74 ถึง 5.50 กรัม

2.8 ลูกขนไก่ที่ไม่ใช้ขนธรรมชาติ


2.8.1 ใช้วัสดุสังเคราะห์แทนขนธรรมชาติ
2.8.2 ฐานลูก ดังที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ 2.6
2.8.3 ขนาดและน้ำหนักของลูกต้องเป็นไปตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ 2.3, 2.4 และ 2.7 อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างของความถ่วงจำเพาะ และคุณสมบัติของวัสดุสังเคราะห์โดยการเปรียบเทียบกับขนธรรมชาติ ยอมให้มีความแตกต่างได้ถึง 10%

2.9 เนื่องจากมิได้กำหนดความแตกต่างในเรื่องลักษณะทั่วไป ความเร็วและวิถีวิ่งของลูกอาจมีการเปลี่ยนแปลง คุณลักษณะดังกล่าวข้างต้นได้โดยการอนุมัติ จาก องค์กรแห่งชาติที่เกี่ยวข้องในที่ซึ่งสภาพความกดอากาศสูงหรือสภาพดินฟ้าอากาศ เป็นเหตุให้ลูกขนไก่ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ไม่เหมาะสม



3. การทดสอบความเร็วของลูก


3.1 การทดสอบ ให้ยืนหลังเส้นเขตหลังแล้วตีลูกใต้มืออย่างสุดแรง โดยจุดสัมผัสลูกอยู่เหนือเส้นเขตหลัง ลูกจะพุ่งเป็นมุมสูง และอยู่ในแนวขนานกับเส้นเขตข้าง
3.2
ลูกที่มีความเร็วถูกต้อง จะตกห่างจากเส้นเขตหลังของอีกด้านหนึ่งไม่น้อยกว่า 530 มม. และไม่มากกว่า 990 มม. (ภาพผัง ข.)







4. แร๊กเกต


4.1

เฟรมของแร็กเกตยาวทั้งหมดไม่เกิน 680 มม. และกว้างทั้งหมดไม่เกิน 230 มม. ส่วนต่าง ๆ ที่สำคัญได้อธิบายไว้ในกติกาข้อ 4.1.1 ถึง 4.1.5 และได้แสดงไว้ในภาพผัง ค.


4.1.1 ด้านจับ เป็นส่วนของแร๊กเกตที่ผู้เล่นใช้จับ
4.1.2 พื้นที่ขึงเอ็น เป็นส่วนของแร็กเกตที่ผู้เล่นใช้ตีลูก
4.1.3 หัว บริเวณที่ใช้ขึงเอ็น
4.1.4 ก้าน ต่อจากด้ามจับถึงหัว (ขึ้นอยู่กับกติกาข้อ 4.1.5)
4.1.5 คอ (ถ้ามี) ต่อก้านกับขอบหัวตอนล่าง

4.2 พื้นที่ขึงเอ็น
4.2.1 พื้นที่ขึงเอ็นต้องแบนราบ ด้วยการร้อยเอ็นเส้นขวางขัดกับเส้นยืนแบบการขึงเอ็นทั่วไป โดยพื้นที่ตอนกลาง ไม่ควรทึบน้อยกว่าตอนอื่น ๆ และ
4.2.2 4.2.2 พื้นที่ขึงเอ็นต้องยาวทั้งหมดไม่เกิน 280 มม. และกว้างทั้งหมดไม่เกิน 220 มม. อย่างไรก็ตามอาจขึงไปถึงคอเฟรม หากความกว้างที่เพิ่มของพื้นที่ขึงเอ็นนั้นไม่เกิน 35 มม. และความยาวทั้งหมดของพื้นที่ขึงเอ็นต้องไม่เกิน 330 มม.
4.3 แร๊กเกต
4.3.1 ต้องปราศจากวัตถุอื่นติดอยู่ หรือยื่นออกมา ยกเว้นจากส่วนที่ทำเพื่อจำกัดและป้องกันการสึกหรอ ชำรุดเสียหาย การสั่นสะเทือน การกระจายน้ำหนัก หรือการพันด้ามจับให้กระชับมือผู้เล่น และมีความเหมาะสมทั้งขนาดและการติดตั้งสำหรับวัตถุประสงค์ดังกล่าว และ
4.3.2 ต้องปราศจากสิ่งประดิษฐ์อื่น ๆ ที่ช่วยให้ผู้เล่นเปลี่ยนรูปทรงของแร็กเกต



5. การยอมรับอุปกรณ์

สหพันธ์แบดมินตันนานาชาติ จะกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับปัญหาของแร็กเกต ลูกขนไก่ หรืออุปกรณ์ต้นแบบ ซึ่งใช้ในการเล่นแบดมินตันให้เป็นไปตามข้อกำหนดต่าง ๆ กฏเกณฑ์ดังกล่าวอาจเป็นการริเริ่มของสหพันธ์เองหรือจากการยื่นความจำนงของคณะบุคคล ที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องอย่างแท้จริงกับผู้เล่น ผู้ผลิต หรือองค์กรแห่งชาติหรือสมาชิกขององค์กรนั้น ๆ

6. การเสี่ยง


6.1 ก่อนเริ่มเล่น จะต้องทำการเสียง ฝ่ายที่ชนะการเสียง มีสิทธิ์เลือกตามกติกาข้อ 6.1.1 หรือ 6.1.2
6.1.1 ส่งลูกหรือรับลูกก่อน
6.1.2 เริ่มเล่นจากสนามข้างใดข้างหนึ่ง
6.2 ฝ่ายที่แพ้การเสี่ยง มีสิทธิ์ที่เหลือจากการเลือก




7. ระบบการนับคะแนน


7.1 แมทช์หนึ่งต้องชนะให้ได้มากที่สุดใน 3 เกม เว้นแต่จะได้กำหนดเป็นอย่างอื่น
7.2

ในประเภทชายคู่และประเภทชายเดี่ยว ฝ่ายที่ได้ 15 คะแนนก่อนเป็นฝ่ายชนะในเกมนั้น ยกเว้นตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ 7.5
7.3

ในประเภทหญิงเดี่ยว หญิงคู่ คู่ผสม ฝ่ายที่ได้ 11 คะแนนก่อนเป็นฝ่ายชนะในเกมนั้น ยกเว้นตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ 7.5
7.4 ฝ่ายส่งลูกเท่านั้น เป็นฝ่ายได้คะแนน (ดูกติกาข้อ 10.3 หรือ 11.5)
7.5

ถ้าได้ 14 คะแนนเท่ากัน (10 คะแนนเท่ากันในประเภทหญิงเดี่ยว หญิงคู่ คู่ผสม) ฝ่ายที่ได้ 14 (10) คะแนนก่อน มีสิทธิ์เลือกในกติกาข้อ 7.5.1 หรือ 7.5.2:-
7.5.1 ต่อเกมนั้นถึง 15 (11) คะแนน กล่าวคือ “ไม่เล่นต่อ” ในเกมนั้น หรือ
7.5.2 7.5.2 “เล่นต่อ” เกมนั้นถึง 17 (13) คะแนน
7.6 ฝ่ายชนะ เป็นฝ่ายส่งลูกก่อนในเกมต่อไป



8. การเปลี่ยนข้าง


8.1 ผู้เล่นจะเปลี่ยนข้าง:-
8.1.1 หลังจากจบเกมที่ 1
8.1.2 ก่อนเริ่มเล่นเกมที่ 3 (ถ้ามี) และ
8.1.3 ในเกมที่ 3 หรือในการแข่งขันเกมเดียว เมื่อคะแนนนำถึง
- 6 คะแนน สำหรับเกม 11 คะแนน
- 8 คะแนน สำหรับเกม 15 คะแนน
8.2


ถ้าผู้เล่นลืมเปลี่ยนข้างตามที่ได้ระบุไว้ในกติกาข้อ 8.1 ผู้เล่นต้องเปลี่ยนข้างทันทีที่รู้ตัวและลูกไม่อยู่ในการเล่น และให้นับนับคะแนนต่อจากคะแนนที่ได้ในขณะนั้น


9.การส่งลูก



9.1 ในการส่งลูกที่ถูกต้อง
9.1.1 ทั้งสองฝ่ายต้องไม่ประวิงเวลาให้เกิดความล่าช้าในการส่งลูกทันทีที่ผู้ส่งลูก และผู้รับลูกอยู่ในท่าพร้อมแล้ว
9.12 ผู้ส่งลูกและผู้รับลูก ต้องยืนในสนามส่งลูกทะแยงมุมตรงข้ามโดยเท้าไม่เหยียบเส้นเขตของสนามส่งลูก
9.13 บางส่วนของเท้าทั้งสองของผู้ส่งลูกและผู้รับลูก ต้องแตะพื้นสนามในท่านิ่งตั้งแต่เริ่มส่งลูก (กติกาข้อ 9.4) จนกระทั่งส่งลูกแล้ว (กติกาข้อ 9.5)
9.14 จุดสัมผัสแรกของแร็กเกตผู้ส่งต้องตีที่ฐานของลูก
9.15 ทุกส่วนของลูกจะต้องอยู่ต่ำกว่าเอวของผู้ส่ง ขณะที่แร็กเกตสัมผัสลูก
9.16 ก้านแร็กเกตของผู้ส่งลูกในขณะตีลูก ต้องชี้ลงต่ำจนเห็นได้ชัดว่า ส่วนหัวทั้งหมดของแร็กเกตอยู่ต่ำกว่าทุกส่วนของมือที่จับแร็กเกตของผู้ส่งลูก ตามภาพผัง ง.
9.17 การเคลื่อนแร็กเกตของผู้ส่งลูกไปข้างหน้า ต้องต่อเนื่องจากการเริ่มส่งลูก (กติกาข้อ 9.4) จนกระทั่งได้ส่งลูกแล้ว และ
9.18 วิถีลูกจะพุ่งขึ้นจากแร็กเกตของผู้ส่งลูกข้ามตาข่าย และถ้าปราศจากการสะกัดกั้น ลูกจะตกลงบนพื้นสนามส่งลูกของผู้รับลูก (กล่าวคือ บนหรือภายในเส้นเขต)

9.2 ถ้าการส่งลูกไม่ถูกต้อง ตามกติกาของข้อ 9.1.1 ถึง 9.1.8 ถือว่าฝ่ายทำผิด “เสีย” (กติกาข้อ 13)
9.3 ถือว่า “เสีย” ถ้าผู้ส่งลูกพยายามจะส่งลูก โดยตีไม่ถูกลูก
9.4 เมื่อผู้เล่นอยู่ในท่าพร้อมแล้ว การเคลื่อนแร็กเกตไปข้างหน้าของผู้ส่งลูกถือว่า เริ่มส่งลูก
9.5

ถือว่าได้ส่งลูกแล้ว (กติกาข้อ 9.4) ถ้าแร็กเกตของผู้ส่งสัมผัสลูกหรือพยายามจะส่งลูกแต่ตีไม่ถูกลูก
9.6

ผู้ส่งลูกจะส่งลูกไม่ได้ถ้าผู้รับลูกยังไม่พร้อม แต่ถือว่าผู้รับลูกพร้อมแล้วถ้าพยายามตีลูกที่ส่งมากลับไป
9.7 ในประเภทคู่ คู่ขาจะยืน ณ ที่ใดก็ได้ โดยไม่บังผู้ส่งลูกและผู้รับลูก






10. ประเภทเดี่ยว


10.1 สนามส่งลูกและรับลูก
10.1.1 ผู้เล่นจะส่งลูกและรับลูกในสนามส่งลูกด้านขวา เมื่อผู้ส่งลูกทำคะแนนไม่ได้ หรือคะแนนที่ได้เป็นเลขคู่ในเกมนั้น
10.1.2 ผู้เล่นจะส่งลูกและรับลูกในสนามส่งลูกด้านซ้าย เมื่อผู้ส่งลูกได้คะแนนเป็นเลขคี่ในเกมนั้น
10.2 ผู้ส่งลูกและรับลูกจะตีโต้ลูกจนกว่าจะเกิด “เสีย” หรือลูกไม่อยู่ในการเล่น
10.3 คะแนนและการส่งลูก
10.3.1 ถ้าผู้รับทำ “เสีย” หรือลูกไม่อยู่ในการเล่นเพราะตกลงบนพื้นสนามของผู้รับ ผู้ส่งลูกได้คะแนน ผู้ส่งจะได้ส่งลูกต่อไปในสนามส่งอีกด้านหนึ่ง
10.3.2 ถ้าผู้ส่งทำ “เสีย” หรือลูกไม่อยู่ในการเล่นเพราะตกลงบนพื้นสนามของผู้ส่ง ผู้ส่งหมดสิทธิ์การส่งลูก และผู้รับก็จะได้เป็นผู้ส่งลูก โดยผู้เล่นทั้งสองฝ่ายไม่ได้คะแนน



11.ประเภทคู่


11.1 เมื่อเริ่มเล่นแต่ละครั้ง ฝ่ายที่ได้สิทธิ์ส่ง ต้องเริ่มส่งจากสนามส่งลูกด้านขวา
11.2 ผู้รับลูกเท่านั้นเป็นผู้ตีลูกกลับไป ถ้าลูกถูกตัว หรือคู่ขาของผู้รับตีลูก ถือว่า “เสีย” ผู้ส่งลูกได้ 1 คะแนน
11.3 ลำดับการเล่นและตำแหน่งยืนในสนาม



11.3.1 หลังจากได้รับลูกที่ส่งมาแล้ว ผู้เล่นของฝ่ายส่งคนหนึ่งคนใดตีลูกกลับไป และผู้เล่นคนหนึ่งคนใดของฝ่ายรับโต้ลูกกลับมา เป็นอย่างนี้เรื่อยไปจนกว่า ลูกไม่อยู่ในการเล่น
11.3.2 หลังจากได้รับลูกที่ส่งมาแล้ว ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดจะตีโต้ลูกจากที่ใดก็ได้ภายในสนามของตนโดยมีตาข่ายกั้น



11.4 สนามส่งลูกและรับลูก



11.4.1 ผู้เล่นมีสิทธิ์ส่งตอนเริ่มต้นของแต่ละเกม จะส่งหรือรับลูกในสนามส่งด้านขวา เมื่อผู้เล่นฝ่ายนั้นไม่ได้คะแนน หรือคะแนนในเกมนั้นเป็นเลขคู่ และในสนามส่งลูกด้านซ้ายเมื่อคะแนนในเกมนั้นเป็นเลขคี่
11.4.2 ผู้เล่นที่เป็นผู้รับตอนเริ่มต้นของแต่ละเกม จะรับหรือส่งลูกในสนามส่งลูกด้านขวา เมื่อผู้เล่นฝ่ายนั้นไม่ได้คะแนน หรือคะแนนในเกมนั้นเป็นเลขคู่ และในสนามส่งลูกด้านซ้าย เมื่อคะแนนในเกมนั้นเป็นเลขคี่
11.4.3 ให้คู่ขาของผู้เล่นปฏิบัติในทางกลับกัน
11.5 คะแนนและการส่งลูก
11.5.1 ถ้าฝ่ายรับทำ “เสีย” หรือลูกไม่อยู่ในการเล่น เพราะลูกตกลงบนพื้นสนามของฝ่ายรับ ฝ่ายส่งได้ 1 คะแนน และผู้ส่งยังคงได้ส่งลูกต่ออีก
11.5.2 ถ้าฝ่ายส่งทำ “เสีย” หรือลูกไม่อยู่ในการเล่น เพราะลูกตกลงบนพื้นสนามของฝ่ายส่ง ผู้ส่งหมดสิทธิ์ส่งลูก โดยผู้เล่นทั้งสองฝ่ายไม่ได้คะแนน
11.6 การส่งลูกทุกครั้ง ต้องส่งจากสนามส่งลูก สลับกันไป ยกเว้นตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ 12 และ ข้อ 14
11.7 ในการเริ่มต้นเกมใดก็ตาม ผู้มีสิทธิ์ส่งลูกคนแรก ส่งลูกจากสนามด้านขวาไปยังผู้รับลูกคนแรกและจากนั้นไปยังคู่ขาของผู้รับตามลำดับไป จนกระทั่งเสียสิทธิ์และเปลี่ยนส่งไปให้ฝ่ายตรงข้ามที่จะต้องเริ่มส่งจากสนามด้านขวา (กติกาข้อ 11.4) จากนั้นจะให้คู่ขาส่ง จะเป็นเช่นนี้ตลอดไป
11.8 ห้ามผู้เล่นส่งลูกก่อนถึงเวลาที่ตนเป็นผู้ส่ง หรือรับลูกก่อนถึงเวลาที่ตนเป็นผู้รับ หรือรับลูกติดต่อกันสองครั้งในเกมเดียวกัน ยกเว้นตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ 12 และ 14
11.9 ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดของฝ่ายชนะ จะเป็นผู้ส่งลูกก่อนในเกมต่อไปก็ได้ และผู้เล่นคนหนึ่งคนใดของฝ่ายแพ้จะเป็นผู้รับลูกก่อนก็ได้



12. ความผิดในสนามส่งลูก


12.1 ความผิดในสนามส่งลูกเกิดขึ้นเมื่อผู้เล่น
12.1.1 ส่งลูกก่อนถึงเวลาที่ตนเป็นผู้ส่ง
12.1.2 ส่งลูกจากสนามส่งลูกที่ผิด หรือ
12.1.3 ยืนผิดสนามและได้เตรียมพร้อมที่จะรับลูกที่ส่งมา
12.2 ถ้าพบความผิดในสนามส่งลูกก่อนส่งลูกครั้งต่อไป
12.2.1 หากฝ่ายหนึ่งทำผิดและชนะในการตีโต้ ให้ “เอาใหม่”
12.2.2 หากฝ่ายหนึ่งทำผิดและแพ้ในการตีโต้ ไม่มีการแก้ไขความผิด
12.2.3 หากทั้งสองฝ่ายทำความผิดด้วยกัน ให้ “เอาใหม่”
12.3 ถ้ามีการ “เอาใหม่” เพราะความผิดในสนามส่งลูก ให้เล่นใหม่พร้อมกับแก้ไข
12.4 ถ้าพบความผิดในสนามส่งลูกหลังจากได้ส่งลูกครั้งต่อไปแล้ว จะไม่มีการแก้ไขความผิดนั้น ให้เล่นต่อไปโดยไม่มีการเปลี่ยนสนามส่งลูกใหม่ของผู้เล่น (หรือให้เปลี่ยนลำดับใหม่ของการส่งลูกในกรณีเดียวกัน)



13. การทำเสีย


ถือว่า "เสีย"
13.1 ถ้าการส่งลูกไม่ถูกต้อง (กติกาข้อ 9.1) หรือตามกติกาข้อ 9.3 หรือ 11.2
13.2 ถ้าในขณะเล่น ลูกขนไก
13.2.1 ตกลงบนพื้นนอกเส้นเขตสนาม (กล่าวคือ ไม่อยู่บนหรือภายในเส้นเขตสนาม)
13.2.2 ลอดผ่านหรือลอดใต้ตาข่าย
13.2.3 ไม่ข้ามตาข่าย
13.2.4 ถูกเพดาน หรือ ฝาผนัง
13.2.5 ถูกตัวผู้เล่น หรือเครื่องแต่งกายผู้เล่น
13.2.6 ถูกวัตถุหรือตัวบุคคลภายนอกที่อยู่ใกล้เคียงล้อมรอบสนาม (ในกรณีที่มีความจำเป็นเกี่ยวกับโครงสร้างของตัวอาคารผู้มีอำนาจเกี่ยวกับ
แบดมินตันท้องถิ่น อาจวางกฎเพิ่มเติมเกี่ยวกับลูกถูกสิ่งกีดขวางได้ ทั้งนี้ ย่อมแล้วแต่สิทธิความเห็นชอบของภาคีสมาชิก)
13.3 ถ้าในระหว่างการเล่น ผู้เล่นตีลูกก่อนที่ลูกข้ามตาข่ายมาในเขตสนามของตัวเอง (อย่างไรก็ดี ผู้ตีอาจใช้แร็กเกตตามลูกข้ามตาข่ายในระหว่างตีลูก)
13.4 ถ้าลูกอยู่ในระหว่างการเล่น ผู้เล่น
13.4.1 ถูกตาข่ายหรืออุปกรณ์ที่ขึง ด้วยแร็กเกต ด้วยตัว หรือด้วยเครื่องแต่งกาย
13.4.2 ล้ำบนตาข่ายเข้าไปในเขตสนามของคู่ต่อสู้ ด้วยแร็กเกต ด้วยตัว ยกเว้นตามที่ได้รับอนุญาตไว้ในกติกาข้อ 13.3
13.4.3 ล้ำใต้ตาข่ายเข้าไปในเขตสนามของคู่ต่อสู้ด้วยแร็กเกต หรือด้วยตัว จนเป็นการกีดขวางหรือทำลายสมาธิคู่ต่อสู้
13.4.4 กีดขวางคู่ต่อสู้ กล่าวคือ กันไม่ให้คู่ต่อสู้ตีลูกที่ข้ามตาข่ายมาอย่างถูกต้องตามกติกา
13.5 ถ้าในระหว่างการเล่น ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดจงใจทำลายสมาธิคู่ต่อสู้ด้วยการกระทำต่าง ๆ เช่น ร้องตะโกนหรือแสดงท่าทาง
13.6 ถ้าระหว่างการเล่น ลูกขนไก
13.6.1 ติดอยู่ในแร็กเกต แล้วถูกเหวี่ยงออกไปในระหว่างตีลูก
13.6.2 ถูกตีสองครั้งติดต่อกัน โดยผู้เล่นคนเดียวกัน
13.6.3 ถูกตีโดยผู้เล่นคนหนึ่ง และคู่ขาของผู้เล่นคนนั้นติดต่อกัน หรือ
13.6.4 ถูกแร็กเกตของผู้เล่นคนหนึ่ง แล้วลอยไปทางท้ายสนามด้านหลังของผู้เล่นคนนั้น
13.7 ถ้าผู้เล่นทำผิดอย่างโจ่งแจ้ง ซ้ำแล้วซ้ำอีก หรือผิดพลาดอยู่ตลอด ตามกติกาข้อ 16
13.8 ถ้าหลังจากส่งลูกแล้วลูกไปติดและค้างอยู่บนตาข่าย หรือลูกข้ามตาข่ายแล้วติดค้างอยู่ในตาข่าย



14. การ "เอาใหม่"


14.1

การ “เอาใหม่” จะขานโดยกรรมการผู้ตัดสิน หรือ โดยผู้เล่น (ถ้าไม่มีกรรมการผู้ตัดสิน) ขานให้หยุดเล่น
14.1.1 ให้ "เอาใหม่" ถ้าผู้ส่งลูก ส่งลูกโดยที่ผู้รับลูกยังไม่พร้อม (ดูกติกาข้อ 9.6)
14.1.2

ให้ "เอาใหม"” ถ้าในระหว่างการส่งลูก ผู้รับและผู้ส่งลูกทำ “เสีย” พร้อมกันทั้งสองฝ่ายในเวลาเดียวกัน
14.1.3

ให้ "เอาใหม" ถ้าลูกไปติดและค้างอยู่บนตาข่าย หรือลูกข้ามตาข่ายแล้วติดค้างอยู่ในตาข่ายยกเว้นในการส่งลูก
14.1.4

ให้ "เอาใหม่" ถ้าในระหว่างการเล่น ลูกขนไก่แตกแยกออกเป็นส่วน ๆ และฐานแยกออกจากส่วนที่เหลือของลูกโดยสิ้นเชิง
14.1.5

ให้ "เอาใหม" ถ้ากรรมการกำกับเส้นมองไม่เห็น และกรรมการผู้ตัดสินไม่สามารถตัดสินใจได้
14.1.6

การ “เอาใหม่” สำหรับกรณีที่เกิดขึ้นเนื่องจากความผิดในสนามส่งลูก ตามที่ระบุในกติกาข้อ 12.2.1 หรือ 12.2.3 หรือ
14.1.7

ให้ “เอาใหม่” สำหรับกรณีที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดมาก่อน หรือโดยเหตุบังเอิญ
14.2

เมื่อมีการ “เอาใหม่” การเล่นหลังจากการส่งลูกครั้งสุดท้ายถือเป็นโมฆะ และผู้เล่นที่ส่งลูกจะได้ส่งลูกอีกครั้งหนึ่ง ยกเว้นหากเป็นไปตามกติกาข้อ 12




15. ลูกไม่อยู่ในการเล่น


ลูกไม่อยู่ในการเล่น เมื่อ
15.1 ลูกชนตาข่ายแล้วติดอยู่ที่ตาข่าย หรือค้างอยู่บนขอบตาข่าย
15.2 ลูกชนตาข่ายหรือเสาตาข่ายแล้วตกลงบนพื้นสนามในด้านของผู้ตีลูก
15.3 ลูกถูกพื้นสนาม หรือ
15.4 เกิดการ “เสีย” หรือการ "เอาใหม่"


16. การเล่นต่อเนื่อง, การทำผิด, การลงโทษ


16.1

การเล่นต้องต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มส่งลูกครั้งแรกจนสิ้นสุดการแข่งขัน ยกเว้นตามที่ได้อนุญาตไว้ในกติกาข้อ 16.2 และ 16.3
16.2



พักระหว่างการจบเกมที่ 1 และเริ่มเกมที่ 2 ได้ไม่เกิน 90 วินาที และไม่เกิน 5 นาที ระหว่างจบเกมที่ 2 และเริ่มเกมที่ 3 อนุญาตสำหรับทุกแมทช์ของการแข่งขัน (ในการแข่งขันที่มีการถ่ายทอดโทรทัศน์ กรรมการผู้ชี้ขาดอาจตัดสินใจก่อนเริ่มการแข่งขันว่า การพักตามกติกาข้อ 16.2 อยู่ในอาณัติและเวลากำหนด)
16.3 พักการเล่น
เมื่อมีความจำเป็นจากสภาพแวดล้อมที่มิได้อยู่ภายใต้การควบคุมของผู้เล่น กรรมการผู้ตัดสินอาจสั่งให้พักการเล่นชั่วคราวตามที่พิจารณาเห็นว่าจำเป็น
ภายใต้สภาพแวดล้อมอื่น ๆ ที่ผิดปกติ กรรมการผู้ชี้ขาดอาจแนะนำให้กรรมการผู้ตัดสินพักการเล่น
16.3.1

เมื่อมีความจำเป็นจากสภาพแวดล้อมที่มิได้อยู่ภายใต้การควบคุมของผู้เล่น กรรมการผู้ตัดสินอาจสั่งให้พักการเล่นชั่วคราวตามที่พิจารณาเห็นว่าจำเป็น
16.3.2 ภายใต้สภาพแวดล้อมอื่น ๆ ที่ผิดปกติ กรรมการผู้ชี้ขาดอาจแนะนำให้กรรมการผู้ตัดสินพักการเล่น
16.3.3 ถ้ามีการพักการเล่น คะแนนที่ได้จะอยู่คงเดิม และจะเริ่มใหม่จากคะแนนนั้น
16.4 การถ่วงเวลาการเล่น
16.4.1 ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น ห้ามถ่วงเวลาการเล่นเพื่อให้ผู้เล่นฟื้นคืนกำลัง หรือหายเหนื่อย
16.4.2 กรรมการผู้ตัดสินจะวินิจฉัยความล่าช้าแต่เพียงผู้เดียว
16.5 คำแนะนำและการออกนอกสนาม
16.5.1 ห้ามผู้เล่นรับคำแนะนำระหว่างการแข่งขัน ยกเว้นการพักตามกติกาข้อ 16.2 และ 16.3
16.5.2 ห้ามผู้เล่นเดินออกนอกสนามระหว่างการแข่งขันโดยมิได้รับอนุญาตจากกรรม
การผู้ตัดสิน ยกเว้นระหว่างพัก 5 นาที ตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ 16.2
16.6 ผู้เล่นต้องไม่
จงใจถ่วงเวลา หรือพักการเล่น
จงใจแปลงหรือทำลายลูกเพื่อเปลี่ยนความเร็วและวิถี
แสดงกิริยาก้าวร้าว หรือ
กระทำผิดนอกเหนือกติกา
16.7 กรรมการผู้ตัดสินจะต้องดำเนินการกับความผิดตามกติกาข้อ 16.4, 16.5 หรือ 16.6 โดย
16.7.1 เตือนผู้กระทำผิด
16.7.2 ตัดสิทธิ์ผู้กระทำผิดหลังจากได้เตือนก่อนแล้ว
16.7.3 ในกรณีผิดอย่างเห็นได้ชัด หรือผิดอยู่ตลอด ให้ตัดสิทธิ์ผู้กระทำผิด แล้วรายงานให้กรรมการผู้ชี้ขาดทราบทันที ซึ่งกรรมการผู้ชี้ขาดมีอำนาจสั่งให้ผู้กระทำผิดออกจากการแข่งขัน






17. กรรมการสนามและการอุทธรณ์


17.1 กรรมการผู้ชี้ขาดเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบการแข่งขันทั้งหมด
17.2 หากมีการแต่งตั้ง กรรมการผู้ตัดสิน ให้มีหน้าที่ควบคุมการแข่งขัน สนาม และบริเวณโดยรอบสนามแข่งขัน กรรมการผู้ตัดสินต้องรายงานต่อกรรมการผู้ชี้ขาด
17.3 กรรมการกำกับการส่งลูกเป็นผู้ขาน “เสีย” สำหรับการส่งลูกที่ผู้ส่งลูกเป็นผู้กระทำผิด (กติกาข้อ 9)
17.4 กรรมการกำกับเส้นเป็นผู้ให้สัญญาณ “ดี” หรือ “ออก” ในเส้นเขตที่ได้รับมอบหมาย
17.5 การตัดสินใจเกี่ยวกับข้อเท็จจริงทั้งหมดของกรรมการสนามที่รับผิดชอบถือว่าสิ้นสุด
17.6 กรรมการผู้ตัดสินจะต้อง
17.6.1 ควบคุมการแข่งขันให้ดำเนินไปภายใต้กฏกติกาอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาน “เสีย” หรือ “เอาใหม่” เมื่อมีกรณีเกิดขึ้น
17.6.2 ตัดสินคำอุทธรณ์เกี่ยวกับการโต้แย้ง ซึ่งมีขึ้นก่อนการส่งลูกครั้งต่อไป
17.6.3 แน่ใจว่า ผู้เล่นและผู้ชมได้ทราบถึงความคืบหน้าของการแข่งขัน
17.6.4 แต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการกำกับเส้น หรือกรรมการกำกับการส่งลูก หลังจากได้ปรึกษากับกรรมการผู้ชี้ขาดแล้ว
17.6.5 หากไม่มีการแต่งตั้งกรรมการสนามอื่น จะต้องปฏิบัติหน้าที่นั้นให้เรียบร้อย
17.6.6 หากกรรมการสนามที่ได้รับการแต่งตั้งมองไม่เห็น ต้องดำเนินการในหน้าที่ของกรรมการนั้น หรือให้ "เอาใหม่"
17.6.7 บันทึกและรายงานต่อกรรมการผู้ชี้ขาดทุกเรื่องที่เกี่ยวกับกติกาข้อ 16 และ
17.6.8 เสนอคำอุทธรณ์ที่ไม่พึงพอใจในปัญหาเกี่ยวกับกติกาต่อกรรมการผู้ชี้ขาด (คำอุทธรณ์ดังกล่าว จะต้องเสนอก่อนการส่งลูกครั้งต่อไป หรือเมื่อการแข่งขันสิ้นสุดลงก่อนที่ฝ่ายอุทธรณ์จะเดินออกจากสนาม)

อ้างอิงจาก http://www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php?table_id=1&cate_id=130&post_id=28386

ประโยชน์ของกีฬาแบดมินตัน

แบดมินตันก็เช่นเดียวกับกีฬาชนิดอื่นๆที่มีประโยชน์มากสำหรับผู้เล่น ซึ่งสามารถสรุปได้เป็นข้อๆ ดังนี้

1.ทำให้มีพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ
2.ทำให้มีสายตาและการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วว่องไว
3.ทำให้เป็นผู้ที่มีการคาดการณ์ล่วงหน้าได้
4.ทำให้เป็นผู้ที่สามารถตัดสินใจได้อยางรวดเร็วทันเวลา
5.ทำให้รู้จักแบ่งหน้าที่และรักษาหน้าที่ มีการร่วมมือกับผู้อื่นได้ดี
6.สามารถเข้ากับคนอื่นได้ และมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี
7.ทำให้เป็นผู้ที่มีน้ำใจเป็นนักกีฬารู้แพ้รู้ชนะ และรู้จักให้อภัย
8.ทำให้เป็นผู้ที่รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

อ้างอิงจาก http://saynamkung.exteen.com/20070331/entry-5

วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

มารยาทของผู้ตัดสินแบดมินตัน

1. เมื่อเข้าสู่สนามแข่งขัน ต้องแต่งกายให้ถูกต้องตามลักษณะของการเป็นผู้ตัดสิน เครื่องแต่งกายต้องประณีต และสะอาด วางตัวในลักษณะสุภาพอ่อนน้อม แต่สำรวมไม่หลอกล้อกับผู้หนึ่งผู้ใด แสดงออกถึงอาการที่จะให้ความร่วมมือกับผู้อื่นด้วยท่าทีกระฉับกระเฉง ไม่ใช่ประหม่าหรือลุกลี้ลุกลน

2. ระหว่างการแข่งขัน หลีกเลี่ยงการพบปะสนทนากับผู้เล่น ผู้ฝึกสอน ตลอดจนผู้คุ้นเคยอื่น ๆ พยายามตั้งใจจริงในการปฏิบัติหน้าที่ในการตัดสิน ตัดสินใจด้วยความเด็ดขาดถูกต้อง แสดงออกถึงความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา ไม่แสดงอารมณ์ออกมา ควรใช้วาจาเฉพาะในสิ่งที่จำเป็นพูดเฉพาะหลักการเท่านั้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ฟัง และไม่ควรโต้เถียงกับผู้ใดผู้หนึ่ง ซึ่งจะเป็นการลดฐานะของตนเอง อันเป็นการทำให้เสื่อมศักดิ์ศรี และเป็นการนำไปสู่การทะเลาะวิวาทหรือทำให้เกิดคับข้องขุ่นเคืองใจได้

3. เมื่อจบการแข่งขัน หลังจากตรวจใบนับคะแนนเรียบร้อยแล้ว ควรรีบออกจากสนามแข่งขันทันที ไม่ควรรีรออยู่เพื่อขออภัยในความผิดพลาดในการตัดสิน หรือเพื่อแสดงความยินดีหรือเสียใจต่อคู่แข่ง ไม่ควรแสดงความคิดเห็นใด ๆ เกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ที่มีการถกเถียงกัน ในกรณีที่มีผู้สื่อข่าวขอสัมภาษณ์ ควรให้ความร่วมมือด้วยอัธยาศัยอันดี โดยชี้แจงอย่างเป็นธรรมและเหมาะสมในขอบเขตของการเป็นผู้ตัดสิน แต่ไม่ควรแสดงความคิดเห็นที่ซ้ำเติม หรือก้าวก่ายหน้าที่ของผู้อื่น

อ้างอิงจาก>> http://www.pargolfsports.com/skill.html

มารยาทของผู้ชมแบดมินตัน

1. แต่งกายให้สุภาพ เรียบร้อย เป็นการให้เกียรติแก่การแข่งขันนั้น ๆ
2. ให้เกียรติแก่นักกีฬาทั้ง 2 ฝ่าย ด้วยการปรบมือเมื่อมีการแนะนำคู่แข่งขัน
3. ไม่กล่าววาจาไม่สุภาพ และไม่เชียร์ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจนไม่น่าดู
4. ขณะการแข่งขันยังดำเนินอยู่ไม่ควรรบกวนสมาธิของผู้แข่งหรือผู้ชมด้วยกัน
5. การนิ่งเงียบ ในขณะที่นักกีฬากำลังเล่นถือว่าเป็นมารยาทของผู้ชมที่ดี
6. ควรปรบมือเมื่อผู้เล่นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเล่นได้ดี สวยงาม และกระทำเมื่อลูกไม่ได้อยู่ในการเล่น
7. ไม่แสดงออกด้วยกิริยา หรือวิพากษ์วิจารณ์การตัดสินของกรรมการ ขณะทำการแข่งขันแม้ว่าจะมีข้อผิดพลาด
8. เมื่อการแข่งขันสิ้นสุดลง ควรปรบมือเป็นเกียรติแก่นักกีฬาทั้งสอง

ประวัติแบดมินตัน

แบดมินตัน (Badminton) เป็นกีฬาที่ได้รับการวิจารณ์เป็นอย่างมากเพราะไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดถึงที่ มาของกีฬาประเภทนี้ คงมีแต่หลักฐานบางอย่างที่ทำให้ทราบว่ากีฬาแบดมินตันมีเล่นกันในยุโรป โดยเฉพาะในประเทศอังกฤษตอนปลายศตวรรษที่ 17 และจากภาพสน้ำมันหลายภาพได้ยืนยันว่ากีฬาแบดมินตันเล่นกันอย่างแพร่หลายใน พระราชวงศ์ของราชสำนักต่างๆ ในทวีปยุโรป แม้ว่าจะเรียกกันภายใต้ชื่ออื่นก็ตาม


ประวัติของกีฬาแบดมินตันบันทึกได้แน่นอนในปี พ.ศ. 2413 ปรากฏว่ามีการเล่นกีฬาลูกขนไก่เกิดขึ้นที่เมืองปูนา (Poona) ในประเทศอินเดีย เป็นเมืองเล็กๆ ห่างจากเมืองบอมเปย์ประมาณ 50 ไมล์ โดยได้รวมการเล่นสองอย่างเข้าด้วยกันคือ การเล่นปูนาของประเทศอินเดีย และการเล่นไม้ตีกับลูกขนไก่ (Battledore Shuttle Cock) ของยุโรป ในระยะแรกๆ การเล่นจะเล่นกันเพียงแต่ในหมู่นายทหารของกองทัพ และสมาชิกชนชั้นสูงของอินเดีย จนกระทั่งมีนายทหารอังกฤษที่ไปประจำการอยู่ที่เมืองปูนา นำการเล่นตีลูกขนไก่นี้กลับไปอังกฤษ และเล่นกันอย่างกว้างขวาง ณ คฤหาสน์แบดมินตัน (Badmin
ton House) ของดยุคแห่งบิวฟอร์ด ที่กล๊อสเตอร์เชอร์ ในปี พ.ศ. 2416 เกมกีฬาตีลูกขนไก่เลยถูกเรียกว่า แบดมินตัน ตามชื่อคฤหาสน์ของดยุคแห่งบิวฟอร์ดตั้งแต่นั้นมา


กีฬาแบดมินตันเริ่มแพร่หลายในประเทศแถบภาคพื้น ยุโรป เพราะเป็นเกมที่คล้ายเทนนิส แต่สามารถเล่นได้ภายในตัวตึก โดยไม่ต้องกังวลต่อลมหรือหิมะในฤดูหนาว ชาวยุโรปที่อพยพไปสู่ทวีปอเมริกา ได้นำกีฬาแบดมินตันไปเผยแพร่ รวมทั้งประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชียและออสเตรเลียที่อยู่ภายใต้อาณานิคมของอังกฤษ เนเธอร์แลนด์ ต่างนำเกมแบดมินตันไปเล่นยังประเทศของตนอย่างแพร่หลาย เกมกีฬาแบดมินตันจึงกระจายไปสู่ส่วนต่างๆ ของโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย


การเล่นแบดมินตันในระยะแรกๆ มิได้มีกฎเกณฑ์ แต่เป็นเพียงตีโต้ลูกกันไปมาไม่ให้ลูกตกพื้นเท่านั้น เส้นแบ่งแดนก็ใช้ตาข่ายผูกโยงระหว่างต้นไม้สองต้นไม่ได้คำนึงถึงเรื่องต่ำ สูง เล่นกันข้างละไม่น้อยกว่า 4 คน ส่วนมาจะเล่นทีมละ 6 ถึง 9 คน ผู้เล่นแต่งตัวตามสบาย สุภาพสตรีสวมกระโปรงยาวทั้งชุด ใส่หมวกติดผ้าลายลูกไม้ สุภาพบุรุษแต่งสากลผูกโบว์ไทด์ เพราะกีฬาแบดมินตันได้รับความนิยมแพร่หลายออกไปตามบ้านข้าราชการ พ่อค้า คหบดี และประชาชน


จนกระทั่งปี พ.ศ. 2436 ได้มีการจัดตั้งสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศอังกฤษขึ้น ซึ่งนับเป็นสมาคมแบดมินตันแห่งแรกของโลก มีการจัดแข่งขันแบดมินตันชิงชนะเลิศแห่งประเทศอังกฤษ หรือที่เรียกกันว่า ออลอิงแลนด์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2432 เป็นต้นมา ได้ตั้งกฎเกณฑ์ของสนามมาตรฐานขึ้นคือ ขนาดกว้าง 22 ฟุต ยาว 45 ฟุต (22 x 45) เป็นสนามขนาดมาตรฐานประเภทคู่ที่ใช้ในปัจจุบัน ตั้งแต่นั้นมาการปรับปรุงดัดแปลงในเรื่องอุปกรณการเล่นได้กระทำให้ดีขึ้น เป็นลำดับ ต่อมาได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วโลก ประเทศในเอเซียอาคเนย์ที่มีการเล่นกีฬาแบดมินตันและได้รับความนิยมสูงสุดคือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และประเทศไทย นอกจากประเทศอังกฤษแล้วการเล่นที่น่าดูมีขึ้นที่ประเทศแคนาดาและเดนมาร์ก ด้วยเหตุผลที่ควรสนใจอย่างกว้างขวางทั่วโลกในกีฬาประเภทนี้ การแข่งขันระหว่างประเทศจึงได้จัดให้มีขึ้นในปี พ.ศ. 2445 และตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา จำนวนประเทศที่เข้าร่วมแข่งขันกีฬาแบดมินตันระหว่างประเทศมีมากว่า 31 ประเทศ


แบดมินตันได้กลายเป็นเกมกีฬาที่เล่นกันระหว่างชาติ โดยมีการยกทีมข้ามประเทศเพื่อแข็งขันระหว่างชาติในทวีปยุโรป ในปี พ.ศ. 2468 กลุ่มนักกีฬาของประเทศอังกฤษได้แข่งขันกับกลุ่มนักกีฬาประเทศแคนาดา ห้าปีหลังจากนั้นพบว่าประเทศแคนาดามีสโมสรสำหรับฝึกแบดมินตันมาตฐานแทบทุก เมือง


ในปี พ.ศ. 2477 สมาคมแบดมินตันของประเทศอังกฤษเป็นผู้นำในการก่อตั้งสหพันธ์แบดมินตัน ระหว่างประเทศ โดยมีชาติต่างๆ อีก 8 ชาติคือ แคนาดา เดนมาร์ก อังกฤษ ฝรั่งเศส ไอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ สก๊อตแลนด์ และเวลล์ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงลอนดอน ปัจจุบันมีประเทศที่อยู่ในเครือสมาชิกกว่า 60 ประเทศที่ขึ้นต่อสหพันธ์แบดมินตันระหว่างประเทศ (I.B.F.) สหพันธ์มีบทบาทสำคัญในการกำหนดและควบคุมกติการะเบียบข้อบังคับต่างๆ ของการแข่งขันกีฬาแบดมินตันทั่วโลก


ในปี พ.ศ. 2482 Sir George Thomas นักแบดมินตันอาวุโสชาวอังกฤษเป็นผู้มอบถ้วยทองราคา 5,000 ปอนด์ เพื่อมอบเป็นรางวัลให้แก่ผู้ชนะเลิศประเภทชายในการแข่งขันแบดมินตันระหว่าง ประเทศ ซึ่งสหพันธ์แบดมินตันได้รับไว้และดำเนินการตามประสงค์นี้ แม้ว่าตามทางการจะเรียกว่า การแข่งขันชิงถ้วยชนะเลิศแบดมินตันระหว่างประเทศ แต่นิยมเรียกกันว่า โธมัสคัพ (Thomas Cup) การแข่งขันจะจัดขึ้นทุกๆ 3 ปี โดยสหพันธ์ได้แบ่งเขตการแข่งขันของชาติสมาชิกออกเป็น 4 โซน คือ

1. โซนยุโรป

2. โซนอเมริกา

3. โซนเอเชีย

4. โซนออสเตรเลเซีย (เดิมเรียกว่าโซนออสเตรเลีย)


วิธีการแข่งขันจะแข่งขันชิงชนะเลิศภายในแต่ละโซน ขึ้นก่อน แล้วให้ผู้ชนะเลิศแต่ละโซนไปแข่งขันรอบอินเตอร์โซนเพื่อให้ผู้ชนะเลิศทั้ง 4 โซนไปแข่งขันชิงชนะเลิศกับทีมของชาติที่ครอบครองดถ้วยโธมัสคัพอยู่ ซึ่งได้รับเกียรติไม่ต้องแข่งขันในรอบแรกและรอบอินเตอร์โซน ชุดที่เข้าแข่งขันประกอบด้วยผู้เล่นอย่างน้อย 4 คน การที่จะชนะเลิศนั้นจะตัดสินโดยการรวมผลการแข่งขันของประเภทชายเดี่ยว 5 คุ่ และประเภทชายคู่ 4 คู่ รวม 9 คู่ และใช้เวลาการแข่งขัน 2 วัน การแข่งขันชิงถ้วยโธมัสคัพครั้งแรก จัดให้มีขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2491-2492


ต่อมาในการแข่งขันแบดมินตันโธมัสคัพ ครั้งที่ 8 ปีพ.ศ. 2512-2513 สหพันธ์ได้เปลี่ยนแปลงวิธีการแข่งขันเล็กน้อย โดยให้ชาติที่ครอบครองถ้วยอยู่นั้นเข้าร่วมแข่งขันในรอบอินเตอร์โซนด้วย โดยวิธีการจับสลากแล้วแบ่งออกเป็น 2 สาย ผู้ชนะเลิศแต่ละสายจะได้เข้าแข่งขันชิงชนะเลิศโธมัสคัพรอบสุดท้ายต่อไป สาเหตุที่สหพันธ์เปลี่ยนแปลงการแข่งขันใหม่นี้ เนื่องจากมีบางประเทศที่ชนะเลิศได้ครอบครองถ้วยโธมัสคัพไม่รักษาเกียรติที่ ได้รับจากสหพันธ์ไว้ โดยพยายามใช้ชั้นเชิงที่ไม่ขาวสะอาดรักษาถ้วยโธมัสคัพไว้ครั้งแล้วครั้งเล่า สหพันธ์จึงต้องเปลี่ยนข้อบังคับให้ชาติที่ครอบครองถ้วยอยู่นั้นลงแข่งขันใน รอบอินเตอร์โซนดังกล่าวด้วย


กีฬาแบดมินตันได้แพร่หลายขึ้น แม้กระทั่งในกลุ่มประเทศสังคมนิยมก็ได้มีการเล่นเบดมินตันอย่างกว้างขวางและ มีการบรรจุแบดมินตันเข้าไว้ในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ เซียพเกมส์ (ซีเกมส์ในปัจจุบัน) การแข่งขันกีฬาของประเทศในเครือจักภพสหราชอาณาจักร รวมทั้งการพิจารณาแบดมินตันเข้าสู่การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ล้วนแต่เป็นเครื่องยืนยันว่า แบดมินตันได้กลายเป็นกีฬาสากลแล้วอย่างแท้จริง


ประวัติผู้ริเริ่มกีฬาแบดมินตัน


จอห์น ลอเรน บอลด์วิน ผู้ริเริ่มกีฬาแบดมินตันขึ้นเป็นครั้งแรกโดยจัดการเล่นที่ คฤหาสน์ แบดมินตัน (Badmintion House) ในปราสาทของท่านดยุค แห่งบิวฟอร์ด ในกลอสเตอร์ชาร์ ประเทศอังกฤษ บอลด์วินมีความ
คิดเมื่อใดไม่ปรากฏแน่ชัด แต่ว่ากันประมาณ 60 ปีกว่า ของคริสต์ศตวรรษที่แล้ว


บอลด์วิน เกิดเมื่อ พ.ศ. 2352 ได้รับการศึกษาในมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด เขาสนใจกีฬาคริกเกต และละครมาก เขามีความชำนาญในกีฬาหลายชนิด และได้ก่อตั้งสโมสรในกรุงลอนดอน (London) หลายแห่งจนได้ชื่อว่า "ราชาสโมสร" ได้มีนิตยสารฉบับหนึ่งชื่อ "แวนิตี้แฟร์" ได้กล่าวว่า "เป็นเวลากว่าครึ่งศตวรรษทีเดียวที่ชื่อเสียงของเขายิ่งใหญ่ในวงการสังคม สโมสร ซึ่งทุกคนเชื่อฟังโดยความเคารพ และเขาเก่งไม่มีใครเท่าเทียมได้ ในการสร้างข้อบังคับ และเป็นผู้ชี้ขาดเกี่ยวกับปัญหาทั่วไป และกำลังอยู่ระหว่างปรับปรุงข้อมูลต่างๆจากลักษณะดังกล่าวนี้ เราจะคิดไม่ได้หรือว่า เขาเป็นผู้วางกฎข้อบังคับกีฬาแบดมินตันขึ้นเป็นครั้งแรกสุดถึงแม้ว่าจะไม่ ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรก็ตาม"


แวนิตี้แฟร์ บอกให้ทราบว่า "เขาเป็นสหายคนสำคัญของท่านดยุคแห่งบิวฟอร์ด" ชีวิตในระยะหลังบอลด์วินได้ไปอาศัยอยู่ใกล้ๆกับวิหาร Tintern Abbey ห่างจากคฤหาสน์แบดมินตันไปทางตะวันตกประมาณ 32 กิโลเมตร เมื่ออยู่ที่นั่นเขาได้รับขนานนามว่า ท่านบิดาแห่งทินเทิน ขณะนั้นเขาแก่ลงมาก ความชราก็ไม่ได้ทำให้เขาลดหย่อนงานอันเป็นที่ยอมรับกันเลย

ประวัติแบดมินตันในประเทศไทย

การเล่นแบดมินตันได้เข้ามาสู่ประเทศไทยในราวปี พ.ศ. 2456 โดยเริ่มเล่นกีฬาแบดมินตันแบบมี
ตาข่าย โดยพระยานิพัทยกุลพงษ์ ได้สร้างสนามขึ้นที่บ้าน ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองสมเด็จเจ้าพระยาธนบุรี แล้วนิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายออกไป ส่วนมากเล่นกันตามบ้านผู้ดีมีตระกูล วังเจ้านาย และในราชสำนัก การเล่นแบดมินตันครั้งนั้น นิยมเล่นข้างละ 3 คนกันมาก ประมาณปี พ.ศ. 2462 สโมสรกลาโหมได้เป็นผู้จัดแข่งขันแบดมินตันทั่วไปขึ้นเป็นครั้งแรก โดยจัดการแข่งขัน 3 ประเภทได้แก่ประเภทเดี่ยว ประเภทคู่ และประเภทสามคน ปรากฏว่าทีมแบดมินตันบางขวางนนทบุรี (โรงเรียนราชวิทยาลัยบางขวางนนทบุรี) ชนะเลิศทุกประเภท นอกจากนี้มีนักกีฬาแบดมินตันฝีมือดีเดินทางไปแข่งขันยังประเทศใกล้เคียงอยู่ บ่อยๆ


ต่อมาปี พ.ศ. 2494 พระยาจินดารักษ์ได้ก่อตั้งขึ้นเป็นสมาคมชื่อว่า "สมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทย" เมื่อแรกตั้งมีอยู่ 7 สโมสร คือ สโมสรสมานมิตร สโมสรบางกอก สโมสรนิวบอย สโมสรยูนิตี้ สโมสร ส.ธรรมภักดี สโมสรสิงห์อุดม และสโมสรศิริบำเพ็ญบุญ ซึ่งในปัจจุบันนี้เหลือเป็นสโมสรสมาชิกของสมาคมอยู่เพียง 2 สโมสร คือสโมสรนิวบอย และสโมสรยูนิตี้เท่านั้น และในปีเดียวกัน สมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยก็ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหพันธ์แบดมินตัน นานาชาติด้วย สมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยมีนักกีฬาแบดมินตันที่มีฝีมือดีอยู่มาก และจากการที่ได้เข้าแข่งขันในรายการต่างๆของโลกได้สร้างชื่อเสียงให้กับ ประเทศไทยเป็นอย่างมาก ทั้งโธมัสคัพ อูเบอร์คัพ และการแข่งขันออลอิงแลนด์ ซึ่งวงการแบดมินตันถือว่าเป็นการแข่งขันชิงชนะเลิศของโลกประเภทรายบุคคล ซึ่งนักกีฬาของประเทศไทยก็เคยได้ตำแหน่งรองชนะเลิศทั้งประเภทชายเดี่ยวและ ชายคู่มาแล้ว


วงการแบดมินตันของไทยยกย่อง นายประวัติ ปัตตพงศ์ (หลวงธรรมนูญวุฒิกร) เป็นบิดาแห่งวงการแบดมินตันของประเทศไทย


ปัจจุบันกีฬาแบดมินตันใน ประเทศไทยเป็นที่นิยมกันมาก เล่นกันทั่วประเทศทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้หญิง ผู้ชาย มีการเรียนการสอนในโรงเรียนในสถาบันอุดมศึกษา มีสนามแบดมินตันอยู่ทั่วประเทศ มีอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน ซึ่งผลิตได้เอง มีการอบรมฝึกสอนกีฬาแบดมินตันโดยองค์กรที่มีมาตรฐาน มีผู้ฝึกสอนทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ทำงานเต็มเวลา มีกรรมการผู้ตัดสินที่เป็นมาตรฐาน มีรายการแข่งขันภายในประเทศที่จัดขึ้นในแต่ละปีไม่น้อยกว่า 20 รายการ มีนักกีฬาที่มีความสามารถติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก ทั้งชายและหญิง ภายใต้การทำงานของสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ที่จริงจัง และเข้มแข็ง เชื่อว่าอีกไม่นานประเทศไทยคงจะก้าวหน้าไปเป็นผู้นำในกีฬาแบดมินตันของโลกใน โอกาสข้างหน้าอย่างแน่นอน

ขั้นตอนสมัครblogger.com

เมื่อสมัครแล้วก็สามารถสร้าง blog ไว้ใช้งานได้เลย

ขั้นตอนที่ 1 ให้ท่านเข้าไปในเว็บไซต์ www.blogger.com/start แล้วคลิกที่สร้างบล็อก
ขั้นตอนที่ 2 เมื่อท่านเข้ามาถึงหน้าสร้างบัญชี Google ก็ให้ท่านกรอกรายการลงไป เฉพาะตรงอีเมล์ก็กรอกอีเมล์ที่ท่านสมัครกับ gmail.com เมื่อกรอกเสร็จและอ่านตรวจทานเรียบร้อยเห็นว่าถูกต้องแล้วก็คลิกที่ “ทำต่อ”


ขั้นตอนที่ 3 เมื่อเข้ามาถึงหน้าตั้งชื่อ บล็อก ก็ให้ท่านกรอกรายละเอียดให้ครบทุกรายการ ชื่อบล็อกให้ตั้งคล้อยตามบทความของคุณที่จะนำมาใส่ เพื่อให้เป็นอินเตอร์หน่อยก็ตั้งชื่อเป็นภาษาอังกฤษเสียเลย ส่วนที่อยู่ของเว็บบล็อกจะเป็น URL ที่ท่านจะนำไปสมัครกับ IiI_^_^_IIOa_^_^_IiI_&_I3igZiil ต้องเป็นภาษาอังกฤษแบบ ตัวเล็กทั้งหมด อาจใช้วิธีนำทุกตัวมาเรียงกัน เช่น เป็นบทความเกี่ยวกับเศรษฐกิจของไทย(Economics of Thailand) ก็ใช้เป็น economicsofthailand หรือ เมื่อมีคนใช้แบบนี้ไปก่อนหน้าแล้ว อาจใช้เป็น economics-of-thailand (โดยใช้เครื่องหมาย - ช่วยก็ได้) เมื่อกรอกรายการเสร็จก็คลิกที่”ทำต่อ”


ขั้นตอนที่ 4 เข้ามาถึงหน้าเลือกแม่แบบ ก็ให้เลือกแบบที่คุณชอบ และแม่แบบนี้สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นในภายหลังได้ เมื่อเลือกเสร็จคลิกที่ “ทำต่อ”


ขั้นตอนที่ 5 เป็นขั้นตอนเตรียมการ “เริ่มต้นส่งบทความ” สำหรับบทความที่ท่านสามารถก้อปปี้มาใส่นั้น สามารถหาบทความภาษาอังกฤษฟรีตามหัวข้อต่างๆจาก http://www.isnare.com/ ให้ท่านก้อปี้มาเก็บไว้ในMicrosoft word ก่อน แล้วนำมาวางลงในช่องของบทความทีละบทความ จนครบ5 บทความ


ขั้นตอนที่ 6 ขั้นนำบทความที่เตรียมไว้มาโพสต์ลงในช่องโพสต์บทความ ให้ท่านเอาชื่อบทความนั้นไว้ช่องบนสุด ส่วนเนื้อหาของบทความเอาไว้ช่องใหญ่ เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ให้ท่านคลิกที่ “เผยแพร่บทความ”


ขั้นตอนที่ 7 ทางเว็บบล็อกจะแจ้งให้ท่านทราบวด้วยข้อความว่า “เผยแพร่บทความบล็อกของคุณเสร็จสมบูรณ์”
ให้ท่านโพสต์แบบเดียวกันนี้ครบ 5 บทความ เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการทำบล็อก


ขั้นตอนที่ 8 ให้ท่านคลิกที่“ดูบล็อก” แล้วดูช่องบนสุดของคอมพิวเตอร์หลังช่อง address ก็จะมี URL ที่มีคำขึ้นต้นว่า http://.....ก็/ให้ท่านก้อปปี้เก็บไว้ใช้อ้างอิงหรือบอกกล่าวเมื่อมีการถามถึง URL บล็อกของท่าน หรือนำไปสมัครเป็นสมาชิกของ IiI_^_^_IIOa_^_^_IiI_&_I3igZiil ต่อไป

ขั้นตอนการสมัคร Gmail

ขั้นตอนการสมัคร Gmail ไม่มีอะไรยุ่งยากมากนัก เพียงแต่กรอกข้อมูลตามที่แบบฟอร์มเท่านั้นค่ะ เพื่อไม่เสียเวลา ทำตามขั้นตอนดังนี้เลยค่ะ
1. ไปที่เวป >>> http://www.gmail.com
2. จากนั้นคลิกที่ ลงทะเบียน Gmail [Sing Up For Gmail] จะปรากฎหน้าต่าง สร้างบัญชี
3. พิมพ์รายละเอียดตามที่ปรากฎให้ครบ (เป็นภาษาอังกฤษนะค่ะ)

First name : ชื่อใส่ชื่อเราลงไป
Last name : นามสกุลใส่นามสกุลเราลงไป
Desird Login Name : ชื่อการเข้าสู่ระบบที่ต้องการ
Check availability! : คลิกเพื่อตรวจสอบว่ามีผู้ใช้แล้วหรือยัง
Choos a password : รหัสผ่าน
Re-enter a password : กรอกรหัสผ่านอีกครั้ง
Security Question : เลือกคำถามที่ต้องการ
Answer : คำตอบ
Secondary email : เมล์สำรองเพื่อแจ้งปัญหา
Locationเลือกเป็น : ราชอาณาจักรไทย Thailand
Word Verification : พิมพ์คำตามที่ปรากฎในรูป

คลิก I accept Create my account (ฉันยอมรับโปรดสร้างบัญชีของฉัน)
เป็นอันเสร็จขั้นตอนการสมัคร Gmail ค่ะ